อนุทิน ชาญวีรกูล ออกมาย้ำกรณี หิ้วจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ว่าคนฉีด คนหิ้ว ผิดทั้งคู่ พร้อมสั่งปิดคลินิกเพื่อตรวจสอบเจ็ดวัน นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้ออกมาให้สัมภาษณ์จากกรณีที่มีคนฉีดวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน หลังจากที่หิ้ววัคซีนชนิดดังกล่าวมาให้คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในจ.สระแก้วฉีด
โดยนาย อนุทิน ระบุว่า เรื่องนี้คนถือเข้ามาก็ผิด คนฉีดก็ผิด แต่ผิดอย่างไร
ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้วจะต้องดำเนินการ ทั้งนี้คนที่ถือวัคซีนเข้าประเทศให้คลินิกฉีดสุ่มสี่สุ่มห้าอย่างไรก็ผิด เพราะวัคซีนมีระบบขนส่งแบบลูกโซ่ความเย็น การเก็บแบบมีคุณภาพ รู้ที่มาที่ไป จะถือมาให้ฉีด อ้างว่าวัคซีนขึ้นทะเบียนแล้ว จะจริงหรือปลอม ก็ไม่ปลอดภัย เพราะไม่รู้ที่มาที่ไป เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
ส่วนคนฉีดนั้น ถือเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงทำผิดกฎหมาย ไม่ใช่ความผิดในระบบของสาธารณสุขหรือราชการ ไม่มีผลกระทบต่อระบบการฉีดวัคซีนในประเทศหรือความปลอดภัยของประชาชน ยืนยันว่าจ.สระแก้วมีการส่งวัคซีนไปเพียงพอ เราก็เร่งรณรงค์ฉีดอยู่
ทางนพ.ประภาส ผูกดวง นพ.สสจ.สระแก้ว กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดปัญหายังไม่มีใครแสดงตัวว่าได้รับวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ทราบจากเฟซบุ๊กที่ถูกโพสต์ลงว่ามีคนรับวัคซีนไป 4 คน ส่วนแพทย์เจ้าของคลินิกนั้น เป็นแพทย์ใกล้เกษียณเหลืออายุราชการ 1 ปี ทั้งนี้ได้สั่งปิดคลินิก 7 วัน เพื่อตรวจสอบตามฐานความผิดตามพ.ร.บ.ยา และ พ.ร.บ.สถานพยาบาล ขณะนี้ต้องตรวจสอบพยานแวดล้อม คาดว่าใช้เวลาตรวจสอบ 15 วัน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงถึงที่มาของวัคซีนและผู้ลงมือฉีด เบื้องต้นทราบว่าเป็นการฉีดวัคซีนไม่ได้มีการลงเวชระเบียน และให้ผู้อื่นดำเนินการฉีดแทน ส่วนการฉีดวัคซีนโควิดในพื้นที่สระแก้ว พบฉีดไปแล้ว 47-48% คาดว่าในสิ้นธ.ค.นี้ จะฉีดวัคซีนได้ตามเป้า 70%
อย่างไรก็ตามวัคซีนจอห์นสันฯ ไม่ใช้วัคซีนที่มีการนำเข้ามาอย่างถูกต้อง ไม่รู้ที่มาที่ไป ดังนั้นคนที่ฉีดวัคซีนดังกล่าวจะไม่ถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว จึงมอบให้มีการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รุ้ง ไมค์ ทนายอานนท์ ใช้เสรีภาพมุ่งล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และให้เลิกการกระทำดังกล่าว วันนี้ 10 พ.ย. 64 ศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย กรณี นายณัฐพร โตประยูร ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีผู้ถูกร้อง รุ้ง ปนัสยา , ไมค์ ภานุพงศ์ และทนายอานนท์ เสนอข้อเรียกร้องเรื่อง “การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” ในการชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ว่าเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่
โดยสรุป เสียงส่วนใหญ่ของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 มีเจตนาซ่อนเร้น เซาะ กร่อนบ่อนทำลาย เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพมุ่งล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต เจตนาละเมิดกฎหมาย จึงสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 และเครือข่ายเลิกการกระทำดังกล่าว ตามมาตรา 49
ผู้สื่อข่าวรายงานกว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 กลุ่มผู้ถูกร้อง ได้นำเสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การปรับลดงบประมาณของสถาบัน และพระราชอำนาจบางประการ
ไม่รอด! ศาลตัดสิน ‘ปารีณา’ ยุติปฏิบัติหน้าที่ กมธ. ปม บุกรุกที่ดิน
ศาลฎีกา ตัดสินให้ ปารีณา ไกรคุปต์ ฝ่าฝืนมาตรฐานกรณี บุกรุกที่ดิน ป่าสงวน ให้ ยุติปฏิบัติหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญ ศาลฎีกา นั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรกและตรวจพยานหลักฐานคดีที่ ป.ป.ช.ยื่นร้อง น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ จากกรณี ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีรุกพื้นที่ป่าสงวนใน จ.ราชบุรี อันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม
โดยศาลกำหนดการไต่สวน ป.ป.ช.โจทก์ทั้งสิ้น 12 ปาก โดยกำหนดไต่สวนพยานโจทก์ในวันที่ 8, 22, 28 ก.พ.65 ขณะที่พยานของ น.ส.ปารีณา พยานผู้ถูกร้องมีทั้งหมด 10 ปาก กำหนดไต่สวน 1-3 มี.ค.65 และ 8-10 มี.ค.65 โดยวันนัดพยานให้พยานมาศาลตามนัดทุกนัด มิเช่นนั้นจะถือว่าไม่ติดใจในการให้ถ้อยคำ พร้อมนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 7 เม.ย.65 เวลา 10.30 น.
ทั้งนี้ ในการนัดพิจารณาคดีวันนี้ (9 พ.ย.) ป.ป.ช.ยังได้ยื่นคัดค้านการดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ของ น.ส.ปารีณา เนื่องจากเห็นว่าศาลได้สั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.แล้ว
ซึ่งองค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นหน้าที่ของสภา การทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ดังนั้น เมื่อ น.ส.ปารีณาได้รับคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมาธิการได้
ส่วนกรณีที่ น.ส.ปารีณาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากระบวนการยื่นคำร้องของ ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่ผ่านมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช.นั้น ศาลเห็นว่า มิใช่บทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้ยกคำร้อง
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป